081-577-9588

ยื่นภาษีครึ่งปี 2566 ภ.ง.ด.94 รวมคำตอบทุกข้อสงสัย

ภ.ง.ด.94

ภ.ง.ด.94 คือ แบบชำระภาษีรอบครึ่งปี ซึ่งไม่ว่าจะเป็นในฐานะบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล (บริษัทหรือห้างหุ้นส่วน) หากมีรายได้เข้ามาก็ต้องมีการเสียภาษีทั้งหมด โดยการยื่นภาษีกลางปีจะคำนวณจากการสรุปรายได้ทั้งหมดตั้งแต่เดือน 1 มกราคม – 30 มิถุนายน โดยหากมีรายได้เกิน 60,000 บาท (สำหรับคนโสด) หรือมากกว่า 120,000 บาท (สำหรับผู้ที่สมรส) จำเป็นต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด. 94 ทั้งสิ้น ซึ่งไม่รวมจากรายได้จากงานประจำ

ใครบ้างที่ต้องยื่น ภ.ง.ด94

ผู้ที่ต้องยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี (ภ.ง.ด. 94) คือ ผู้ที่มีรายได้ตั้งแต่ 1 มกราคม – 30 มิถุนายน ของทุกปี (ไม่รวมรายได้จากงานประจำ) เกิน 60,000 บาทสำหรับกรณีโสด หรือในกรณีมีคู่สมรสจะต้องมีรายได้รวมกันเกิน 120,000 บาท และจะต้องเป็นเงินได้ที่เข้าข่ายเงินได้ประเภทต่างๆ ต่อไปนี้

  • เงินได้ประเภทที่ 5 (เงินได้ 40 (5))

คือ รายได้ที่มาในรูปแบบของค่าเช่า (ไม่ว่าจะเป็นค่าเช่าที่ได้รับจากทรัพย์สินใดๆ ก็ตาม), การผิดสัญญาเช่า เป็นต้น หากคุณมีรายได้ (มาตรา 40 (5) ประมวลรัษฎากร)

  • เงินได้ประเภทที่ 6 (เงินได้ 40 (6))

คือ รายได้หรือค่าตอบแทนที่ได้จากการประกอบวิชาชีพอิสระ 6 อาชีพ ได้แก่ การประกอบโรคศิลปะ, นักกฎหมาย, วิศวกร, สถาปนิก, นักบัญชี และช่างประณีตศิลป์ (มาตรา 40 (6) ประมวลรัษฎากร)

  • เงินได้ประเภทที่ 7 (เงินได้ 40 (7))

คือ รายได้ที่มาในรูปแบบของค่ารับเหมาที่ผู้เสียภาษีต้องทำหน้าที่จัดหาเองทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น ค่าแรง ค่าเครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ และค่าของต่าง (ตามมาตรา 40 (7) ประมวลรัษฎากร)

  • เงินได้ประเภทที่ 8 (เงินได้ 40 (8))

คือ เงินได้ที่ไม่ได้รับกรยกเว้ภาษี และไม่ถูกจัดให้อยู่ในเงินได้ประเภทอื่นๆ ที่กล่าวมาข้างต้น เช่น รายได้ที่ได้รับจากขายของออนไลน์, เปิดร้านอาหาร, กำไรได้จากกรของกองทุน LTF/RMF เป็นต้น (ตามมาตรา40(8) ประมวลรัษฎากร) 

รายได้อะไรบ้างที่ต้องยื่น ภ.ง.ด.94

ส่วนผู้เสียภาษีท่านอื่นๆ ที่เช็กตัวเองเรียบร้อยแล้วว่า เงินได้ที่ได้รับมานั้นไม่เข้าข่ายเงินได้ 4 ประเภทข้างต้นก็วางใจได้เลย เพราะคุณไม่จำเป็นต้องยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี (ภ.ง.ด. 94) และเตรียมวางแผนภาษีสำหรับการยื่นภาษีเงินได้ประจำปี ในช่วงต้นปี 2566 ได้เลย

การยื่น ภ.ง.ด. 94

 
  • เนื่องจากเอกสารที่ใช้ยื่นภาษีครึ่งปี จะไม่ใช่ ภ.ง.ด. 90, 91 ที่หลายคนคุ้นเคย แต่จะต้องยื่นภาษีโดยใช้แบบฟอร์ม ภ.ง.ด. 94 ซึ่งผู้เสียภาษีสามารถดาวน์โหลดแบบแสดงรายการภาษีได้ที่เว็บไซต์ของกรมสรรพากร www.rd.go.th
  • ยื่นภาษีครึ่งปีแล้ว ต้องยื่นภาษีเงินได้ประจำปีด้วย แม้ว่าคุณจะทำการยืนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี (ภ. ง.ด. 94) แล้ว แต่คุณจะต้องทำการยื่นภาษีเงินได้ประจำปีด้วย ทั้งนี้การยื่นภาษีเงินได้ประจำปีนั้น คุณจะต้องทำการยื่นยอดรายได้ที่คุณมีตลอดทั้งปี ไม่ใช่การยื่นรายได้ที่เกิดขึ้นในช่วงครึ่งปีหลังเท่านั้น

ภ.ง.ด.94 ยื่นภายในวันที่

  • สามารถยื่นแบบภ.ง.ด.94 ได้ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. – 2 ต.ค. 2566 (กรณียื่นแบบทางอินเทอร์เน็ตจะยื่นได้ถึงวันที่ 9 ต.ค. 2566)

ค่าปรับยื่น ภ ง.ด.94 ล่าช้า

  • กรณีไม่ยื่นแบบโทษปรับ 2,000 บาท และมีดอกเบี้ย อัตรา 1.5% ต่อเดือน

คำถามเกี่ยวกับ ภ.ง.ด.94 จากกรมสรรพากร

คำถาม : สามีและภริยาต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ ตามมาตรา 40(5)(6)(7) และ (8) แห่งประมวลรัษฎากร สามีหรือภริยาที่มีหน้าที่ในการยื่นแบบ ภ.ง.ด. 94

คำตอบ :  สามีและภริยาต่างฝ่ายต่างมีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 สำหรับเงินได้ของตน

คำถาม : สามีมีเงินได้จากเงินเดือนและภริยามีเงินได้จากการค้าขาย สามีหรือภริยามีหน้าที่ในการยื่นแบบ ภ.ง.ด.94

คำตอบ :  ตามมาตรา 57 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร กำหนดให้สามีมีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นรายการ ถ้าสามีภริยาอยู่ร่วมกันตลอดปีภาษี แต่ขณะยื่นแบบภ.ง.ด.94 สามีภริยายังมิได้อยู่ร่วมกันตลอดปีภาษี สามีจึงไม่มีหน้าที่ยื่นแบบดังกล่าว เฉพาะภริยาเท่านั้นที่จะมีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นแบบภ.ง.ด.94 สำหรับเงินได้จากการค้าขายของตน เมื่อถึงกำหนดยื่นแบบแสดงรายการประจำปี และความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษี ให้สามีมีหน้าที่ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 โดยนำเงินได้จากการค้าขายของภริยามารวมคำนวณด้วย

คำถาม : อายุเกิน 65 ปี ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 สามารถใช้สิทธิยกเว้นเงินได้ 190,000 บาท ได้หรือไม่

คำตอบ :  หากผู้มีเงินได้มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไปในปีภาษี และเป็นผู้อยู่ในไทย สามารถใช้สิทธิยกเว้นเงินได้จำนวน 190,000 บาท ตามกฎกระทรวง  ฉบับที่ 257 (พ.ศ.2549) และประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 150) โดยต้องกรอกในใบแสดงสิทธิผู้มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไปด้วย

คำถาม : บุคคลธรรมดาได้รับผลประโยชน์จากการขายหน่วยลงทุน RMF/LTF ที่เป็นไปตามเงื่อนไข ซึ่งได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ต้องนำมายื่นแบบ ภ.ง.ด.94 หรือไม่

คำตอบ :  ผลประโยชน์ที่ได้รับจากการขายหน่วยลงทุน RMF/LTF ที่เป็นไปตามเงื่อนไข ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามข้อ 2(65) และ (67) ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ.2509) ให้นำมายื่นแบบ ภ.ง.ด. 94 ด้วย เนื่องจากเป็นการยกเว้นแบบมีเงื่อนไข โดยแสดงในส่วน ก รายการเงินได้พึงประเมิน ที่ข้อ 5. หรือข้อ 6. เลือก ยกเว้น

คำถาม : นาย ก. มีเงินได้จากการขายของจะยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 โดยหักค่าใช้จ่ายเหมาในอัตราร้อยละ 80 เมื่อถึงกำหนดเวลายื่นแบบ ภ.ง.ด.90 จะหักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควร ได้หรือไม่

คำตอบ :  กรณีผู้มีเงินได้จากการขายของโดยมิได้เป็นผู้ผลิต สามารถยื่นแบบ ภ.ง.ด. 94 โดยหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมา และยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 โดยหักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรได้ หากมีหลักฐานและพิสูจน์ได้ว่ามีค่าใช้จ่ายมากกว่าค่าใช้จ่ายเหมาตามที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 11) พ.ศ.2502 

คำถาม : ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 จะหักลดหย่อนผู้มีเงินได้เต็มจำนวน 30,000 บาท หรือไม่

คำตอบ : บุคคลธรรมดาที่ยื่นแบบ ภ.ง.ด. 94 สามารถหักลดหย่อนผู้มีเงินได้ ได้เพียงกึ่งหนึ่ง คือ 15,000 บาท สำหรับกรณีผู้มีเงินได้เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล หักลดหย่อนผู้มีเงินได้ ได้เพียงกึ่งหนึ่ง ตามจำนวนผู้เป็นหุ้นส่วนหรือบุคคลในคณะบุคคลที่อยู่ในไทย ดังนี้

1. กรณีเป็นหุ้นส่วนหรือบุคคลในคณะบุคคลอยู่ในไทยเพียงคนเดียว ให้หักลดหย่อนผู้มีเงินได้เพียงคนเดียว  เป็นจำนวนเงิน 15,000 บาท

2. กรณีผู้เป็นหุ้นส่วนหรือบุคคลในคณะบุคคลอยู่ในไทยตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ให้หักลดหย่อนผู้มีเงินได้ ทั้งสิ้นเป็นจำนวนเงิน 30,000 บาท

คำถาม : ยื่นแบบ ภ.ง.ด. 94 ผู้มีเงินได้จะหักลดหย่อนคู่สมรสได้เต็มจำนวน 30,000 บาท หรือไม่

คำตอบ : ผู้มีเงินได้ที่ยื่นแบบ ภ.ง.ด. 94 สามารถหักลดหย่อนคู่สมรสที่ไม่มีเงินได้เพียงกึ่งหนึ่ง คือ 15,000 บาท 1. กรณีผู้มีเงินได้เป็นผู้อยู่ในไทย (ถึง 180 วันในปีภาษี) ให้หักลดหย่อนคู่สมรสได้ไม่ว่าคู่สมรสจะอยู่ในไทยหรือไม่ 2. กรณีผู้มีเงินได้มิได้เป็นผู้อยู่ในไทย (ไม่ถึง 180 วันในปีภาษี) ให้หักลดหย่อนได้เฉพาะคู่สมรสที่เป็นผู้อยู่ในไทยเท่านั้น

คำถาม : ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 ผู้มีเงินได้จะหักลดหย่อนบุตรได้จำนวนเท่าใด

คำตอบ :ผู้มีเงินได้ที่ยื่นแบบ ภ.ง.ด. 94 สามารถหักลดหย่อนบุตรได้เพียงกึ่งหนึ่ง  ดังนี้ 1. บุตรที่ไม่ได้ศึกษาหรือศึกษาอยู่ในต่างประเทศ ให้หักลดหย่อนได้คนละ 7,500 บาท 2. บุตรที่ศึกษาอยู่ในประเทศ ให้หักลดหย่อนได้คนละ 8,500 บาท 3. กรณีผู้มีเงินได้เป็นผู้อยู่ในไทย (ถึง 180 วันในปีภาษี) ให้หักลดหย่อนบุตรทั้งที่อยู่ในไทยและอยู่ต่างประเทศ 4. กรณีผู้มีเงินได้มิได้เป็นผู้อยู่ในไทย (ไม่ถึง 180 วันในปีภาษี) ให้หักลดหย่อนเฉพาะบุตรที่อยู่ในไทยเท่านั้น โดยให้หักลดหย่อนได้ตลอดปีภาษี ไม่ว่ากรณีที่จะหักได้นั้นจะมีอยู่ตลอดปีภาษีหรือไม่

คำถาม : ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 ผู้มีเงินได้สามารถหักลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตได้เท่าไร

คำตอบ :ผู้มีเงินได้สามารถหักลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง สำหรับส่วนที่ไม่เกิน 10,000 บาท หักได้เพียงกึ่งหนึ่ง คือไม่เกิน 5,000 บาท ตามมาตรา 56 ทวิ วรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากร ส่วนที่เกิน 10,000 บาท ให้ได้รับยกเว้นอีก ไม่เกิน 90,000 บาท สำหรับเบี้ยประกันที่จ่ายตั้งแต่ 1 มกราคม 2551 เป็นต้นไป ตามข้อ 5 ของกฎกระทรวงฉบับที่ 266 (พ.ศ.2551) แต่เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกินเงินได้พึงประเมินหลังหักค่าใช้จ่าย

สำหรับคู่สมรสไม่มีเงินได้ แต่ทำประกันชีวิตไว้  ผู้มีเงินได้ไม่สามารถนำเบี้ยประกันของคู่สมรสมาหักลดหย่อน เนื่องจากความเป็นสามีภริยามิได้อยู่ตลอดปีภาษี เมื่อถึงกำหนดเวลายื่นแบบ ภ.ง.ด.90 และความเป็นสามีภริยามีอยู่ตลอดปีภาษี  จึงจะนำเบี้ยประกันชีวิตของคู่สมรสที่ไม่มีเงินได้มาหักลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10,000 บาท

คำถาม : ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 ผู้มีเงินได้จะใช้สิทธิยกเว้นเงินได้ค่าเบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดาได้หรือไม่

คำตอบ : การยื่นแบบ ภ.ง.ด. 94 ผู้มีเงินได้ที่จ่ายค่าเบี้ยประกันสุขภาพให้บิดามารดาของตน และบิดามารดาของคู่สมรสที่ไม่มีเงินได้ให้ยกเว้นภาษีเงินได้ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท เช่นเดียวกับการยื่นแบบ ภ.ง.ด.90  ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด

คำถาม : ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 ผู้มีเงินได้จะหักลดหย่อนบิดามารดาได้เต็มจำนวนคนละ 30,000 บาท หรือไม่

คำตอบ :ผู้มีเงินได้ที่ยื่นแบบ ภ.ง.ด. 94 สามารถหักลดหย่อนบิดามารดาของผู้มีเงินได้หรือบิดามารดาของคู่สมรสที่ไม่มีเงินได้เพียงกึ่งหนึ่ง คือคนละ 15,000 บาท ทั้งนี้ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด

คำถาม : ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 บุตรจะใช้สิทธิหักลดหย่อนบิดามารดาได้หรือไม่ กรณีบิดามารดาถึงแก่ความตายในระหว่างปีภาษี (เช่น ตายในเดือนมิถุนายน)

คำตอบ : กรณีบิดามารดาตายในระหว่างปีภาษี ให้บุตรเพียงคนใดคนหนึ่งใช้สิทธิหักลดหย่อนได้ โดยแนบ แบบ ล.ย.03 และสำเนาใบมรณบัตร พร้อมกับการยื่นแบบ ภ.ง.ด. 94

คำถาม : ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 ผู้มีเงินได้จะนำค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) หรือกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) มาหักลดหย่อนได้หรือไม่

คำตอบ : ได้  ในจำนวนไม่เกินอัตราร้อยละ 15 ของเงินได้ และไม่เกิน 500,000 บาท สำหรับเงินได้ที่ได้รับตั้งแต่ 1 มกราคม 2551 เป็นต้นไป ตามข้อ 4 และข้อ 6 ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 266 (พ.ศ.2551) ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด

คำถาม : ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 ผู้มีเงินได้จะหักลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมได้เท่าไร

คำตอบ : การลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืม กรณียื่นแบบ ภ.ง.ด. 94 ให้หักลดหย่อนได้ตามที่จ่ายไปจริงในระหว่างเดือนมกราคมถึงมิถุนายน ดังนี้
1. ส่วนที่จ่ายไปไม่เกิน 10,000 บาท หักลดหย่อนได้เพียงกึ่งหนึ่งคือ   5,000 บาท
2. สำหรับส่วนที่เกิน 10,000 บาท ให้หักได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 90,000 บาท

ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 264 (พ.ศ.2550) ประกอบกับประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 165)(ฉบับที่ 166) และ (ฉบับที่ 167)

คำถาม : ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 ผู้มีเงินได้มีเงินบริจาค ต้องคำนวณเพียงกึ่งหนึ่งหรือไม่

คำตอบ : การยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 ผู้บริจาคมีสิทธิหักลดหย่อนเงินบริจาค และยกเว้นเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายได้เท่ากับจำนวนเงินกึ่งหนึ่งที่ได้บริจาคจริงในเดือนมกราคมถึงมิถุนายนของปีภาษีนั้นๆ ตามมาตรา 56 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร แต่รวมกันต้องไม่เกินอัตราร้อยละ 10 ของเงินได้หลังจากหักค่าใช่จ่ายและค่าลดหย่อนอื่นๆ แล้ว (ก่อนหักเงินสนับสนุนเพื่อการศึกษา)

คำถาม : บุคคลธรรมดามีเงินได้จากการขายที่ดินหักค่าใช้จ่ายเหมาตามจำนวนปีที่ถือครอง คงเหลือเงินได้สุทธิคำนวณภาษีตามอัตราภาษีเงินได้ จะได้รับยกเว้นเงินได้สุทธิ 150,000 บาท แรกหรือไม่

คำตอบ : ไม่ได้รับยกเว้นเงินได้สุทธิ 150,000 บาทแรก เนื่องจากเป็นการคำนวณภาษีตามมาตรา 48(4) แห่งประมวลรัษฎากร มิใช่การคำนวณภาษีตามมาตรา 48(1) แห่งประมวลรัษฎากร

คำถาม : การคำนวณภาษีในอัตราร้อยละ 0.5 กรณีใช้สิทธิยกเว้นสำหรับผู้มีเงินได้ที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปี ขึ้นไป คำนวณจากเงินได้พึงประเมินก่อนหรือหักเงินที่ได้รับยกเว้น 190,000 บาทแล้ว

คำตอบ :การคำนวณภาษีในอัตราร้อยละ 0.5 ตามมาตรา 48(2) แห่งประมวลรัษฎากร กรณีใช้สิทธิยกเว้นสำหรับผู้มีเงินได้ที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปี ขึ้นไป ให้คำนวณจากเงินได้พึงประเมินหลังจากหัก 190,000 บาท แล้ว

คำถาม : มีเงินได้สุทธิ จำนวนเงิน 750,000 บาท คำนวณภาษีตามอัตราภาษีเงินได้เป็นเงินภาษีที่ต้องชำระเท่าไร

คำตอบ :  ภาษีที่คำนวณได้                      เท่ากับ                      85,000 บาท

วิธีการคำนวณ

                               0  –  150,000  บาท                                                               ยกเว้น

              150,001 –  500,000        บาท   อัตราร้อยละ 10   เท่ากับ                35,000 บาท

               500,001 –  750,000       บาท    อัตราร้อยละ 20   เท่ากับ               50,000 บาท

               รวมภาษีที่คำนวณได้                                                                          85,000 บาท

คำถาม : ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 ผ่อนชำระได้หรือไม่

คำตอบ : หากเป็นแบบที่ยื่นภายในกำหนดเวลา ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา หรือยื่นชำระภาษีผ่านธนาคาร ยกเว้นธนาคารกรุงไทย และมีภาษีที่ต้องชำระตั้งแต่ 3,000 บาท ขึ้นไป สามารถผ่อนชำระได้ไม่เกิน 3 งวด เท่าๆ กัน  ดังนี้

  • งวดที่ 1 ชำระพร้อมกับการยื่นแบบภายในวันที่ 30 กันยายน
  • งวดที่ 2 ชำระภายในวันที่ 31 ตุลาคม
  • งวดที่ 3 ชำระภายในวันที่ 30 พฤศจิกายน

 

กรณี มิได้ชำระภาษีงวดใดงวดหนึ่งภายในกำหนดเวลา ผู้เสียภาษีหมดสิทธิที่จะผ่อนชำระและต้องชำระภาษีอากรที่ค้างอยู่ทั้งหมด โดยต้องเสียเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือนของเงินภาษีงวดที่เหลือ  ทั้งนี้ การยื่นแบบผ่านอินเทอร์เน็ต ไม่สามารถผ่อนชำระได้

คำถาม : ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 เกินกำหนดจะเสียค่าปรับและเงินเพิ่มอย่างไร

คำตอบ :

  1. เสียค่าปรับอาญา ดังนี้
    กรณียื่นเกินกำหนดไม่เกิน 7 วัน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลา เสียค่าปรับ 100 บาท
    กรณียื่นเกินกำหนด   เกิน  7 วัน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลา เสียค่าปรับ 200 บาท
  2. เสียเงินเพิ่ม (ถ้ามีเงินภาษีที่ต้องชำระ) อัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนคิดเป็นหนึ่งเดือน

ติดต่อเรา

สำนักงานบัญชีชลบุรี ท๊อปไฟว์ แอคเคาน์ติ้ง แอนด์ คอนซัลแตนท์ จำกัด

TopFive Accounting and Consultant Co., Ltd

ติดต่อสอบถาม หรือ สอบถามข้อมูลได้ที่นี่

ที่ตั้ง 7/77  หมู่ 5  ตำบลห้วยกะปิ  อำเภอเมืองชลบุรี  จังหวัดชลบุรี  20130

โทรศัพท์ :  081-577-9588  หรือ  091-775-4272   E-mail :  topfive2006@yahoo.com

สำนักงานบัญชีชลบุรี บริการรับทำบัญชี วางระบบบัญชี ตรวจสอบบัญชี จดทะเบียนนิติบุคคล จดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงผู้ถือ จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้น จดเพิ่มทุน จดลดทุน บริการด้านบัญชีและภาษีอากร บริการรับปิดงบการเงิน ทำบัญชี ปรึกษาการเงินบัญชี ปิดงบการเงิน จดทะเบียนบริษัท บริการปรึกษาด้านบัญชีภาษีอากร จดบริษัทชลบุรี จดจัดตั้งบริษัทชลบุรี จดทะเบียนบริษัทชลบุรี

บริษัท ท๊อปไฟว์ แอคเคาน์ติ้ง แอนด์ คอนซัลแตนท์ จำกัด
TOP FIVE ACCOUNTING AND CONSULTANT Co., Ltd