5 ความผิดเรื่องภาษี ยื่นไม่ดี อาจมีความคิด การยื่นภาษีที่ไม่ถูกต้อง ไม่ตรงตามความเป็นจริง นอกจากจะส่…
จดทะเบียนบริษัท โปรโมชั่น ราคา 9,500 บาท รวมทุกอย่างแล้ว
TOPFIVE สำนักงานบัญชีคุณภาพ บริษัทที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO 9001 : 2015
เพื่อให้ทาง สำนักงานบัญชีชลบุรี ท๊อปไฟว์ฯ ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งที่เข้าช่วยพัฒนาองค์กรต่าง ๆ ให้มีเสถียรภาพทางการเงิน และ มีการบริหารจัดการที่เป็นระบบมากที่สุด ทำให้สำนักงานบัญชีของ ท๊อปไฟว์ ได้รับการรับรองจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ให้เป็น“สำนักงานบัญชีคุณภาพ” พร้อมให้บริการทุกธุรกิจแบบครบวงจรด้วยความเชี่ยวชาญ ความแม่นยำ และ ความโปร่งใสของ ทีมงานบัญชีมืออาชีพ
สำนักงานบัญชีชลบุรี ท๊อปไฟว์ฯ มีการพัฒนาระบบการทำบัญชี
ที่มีความทันสมัย และมีคุณภาพ สอดคล้องกับมาตรฐาน ISO 9001 : 2015
และจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีของสภาวิชาชีพบัญชี
เพื่อให้เป็นที่น่าเชื่อถือ โดยที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
ได้มีการกำหนดให้มีการออกหนังสือรับรองคุณภาพ
แจ้งชื่อ + บัตรประชาชน รู้ผลใน 5 นาที!!
00
Minutes
00
Seconds
00
Millisecond
อย่ารอช้า! ชื่อที่คุณต้องการอาจหลุดมือไป
ราคานี้เฉพาะผู้ถือหุ้น/กรรมการ สัญชาติไทย 100%
ฟรี!
ค่าธรรมเนียมจัดตั้งบริษัท
มูลค่า
5,500
บาท
ค่าธรรมเนียมคัดสำเนาเอกสารจัดตั้งบริษัท
มูลค่า
1,500
บาท
ค่าธรรมเนียมคัดหนังสือรับรองบริษัท
มูลค่า
750
บาท
ฟรี!
ค่าบริการจองชื่อบริษัท
มูลค่า
1,000
บาท
ค่าบริการจดทะเบียน
มูลค่า
6,000
บาท
รหัส e-Filing นิติบุคคล
มูลค่า
1,000
บาท
รหัส e-Service ผู้ถือหุ้น
มูลค่า
1,000
บาท
จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ถ้ามี)
มูลค่า
3,000
บาท
รหัสยื่นภาษีผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์
มูลค่า
2,000
บาท
ฟรี!
ตราประทับบริษัท
มูลค่า
500
บาท
ค่าบริการจดทะเบียน
มูลค่า
6,000
บาท
รายงานการประชุมเพื่อเปิดบัญชีธนาคาร
มูลค่า
1,000
บาท
คำแนะนำด้านเอกสารบัญชี / ครั้ง
มูลค่า
3,000
บาท
ได้รับทั้งหมดนี้ ฟรี!!
จ่ายเพียง 9,500 บาท
จากราคาปกติ 26,800 บาท
(ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%)
TOPFIVE สำนักงานบัญชีคุณภาพ บริษัทที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO 9001 : 2015
สำนักงานบัญชีของ ท๊อปไฟว์ ได้รับการรับรองจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ให้เป็น“สำนักงานบัญชีคุณภาพ” พร้อมให้บริการทุกธุรกิจแบบครบวงจรด้วยความเชี่ยวชาญ ความแม่นยำ และ ความโปร่งใสของ ทีมงานบัญชีมืออาชีพ
บริการของ
TOPFIVE
บริการของ
เจ้าอื่นในท้องตลาด
บริการของเรามุ่งเน้นความสะดวกและประสิทธิภาพ
ในกระบวนการจดทะเบียน เพื่อให้ธุรกิจของคุณเริ่มต้นและดำเนินการได้อย่างราบรื่น
ติดต่อทีมงาน
แอดไลน์ทีมงานมาที่ ID LINE
0863699225 พร้อมแจ้งชื่อ
ที่ต้องการได้ทันที
ชำระเงิน
ยืนยันตัวตน
ผ่านระบบกรมพัฒนาธุรกิจการค้า (DBD) ผู้ถือหุ้นทุกคนยืนยันตัวตน
โดยคลิกลิงก์ที่ทีมงานเตรียมให้
ทีมงานยื่นเรื่อง
ส่งเอกสาร ให้คุณถึงบ้าน
หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล
เอกสารที่รับรองความมีตัวตนของนิติบุคคล มักจะใช้เป็นหลักฐานในการทำธุรกรรมต่าง ๆ ปกติมักใช้ได้เมื่ออายุไม่เกิน 6 เดือน มิฉะนั้นจะต้องทำการคัดหนังสือรับรองฉบับใหม่อีกครั้ง
ใบทะเบียนพาณิชย์ (พค. 0401)
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนบริษัท เป็นหลักฐานในการแสดงฐานะเป็นนิติบุคคล ซึ่งจะได้รับ 1 ฉบับจาก DBD เท่านั้น ยกเว้นมีการเปลี่ยนแปลงชื่อบริษัทในอนาคต
แบบคำขอจดทะเบียนบริษัท (บอจ.1)
เอกสารที่ใช้ยื่น คำขอในการจดทะเบียนนิติกรรมต่าง ๆ ตั้งแต่ จดจัดตั้งบริษัท และจดแก้ไขข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวกับบริษัทในอนาคต
หนังสือบริคณห์สนธิ (บอจ.2)
เอกสารที่ผู้เริ่มก่อการของบริษัท ได้จัดทำขึ้น และได้ลงลายมือชื่อร่วมกัน ตามข้อกำหนดของกฎหมาย ในการจัดตั้งบริษัทจำกัด
รายการจดทะเบียนจัดตั้ง (บอจ.3)
เอกสารที่แสดงให้เห็นถึง รายละเอียดทุนของบริษัทว่า ทุนจดทะเบียนเท่าไร มูลค่าหุ้น และการเรียกชำระทุนครั้งแรกของบริษัท
สำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (บอจ.5)
เอกสารที่แสดงว่า มีใครเป็นผู้ถือหุ้นอยู่บ้าง ณ ปัจจุบัน หากมีการเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นในอนาคต จะต้องปรับปรุงทุกปี เป็นอย่างน้อย เมื่อถึงเวลาส่งการเงิน
ใบสำคัญชำระเงินลงทุนค่าหุ้น
เอกสารที่แสดงว่า บริษัทได้รับเงินชำระค่าหุ้นที่ผู้ถือหุ้นตกลง ที่จะลงทุนในนิติบุคคลเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
รายชื่อผู้ก่อการ และผู้เข้าซื้อหุ้น
เอกสารแสดงรายชื่อผู้ก่อตั้งบริษัท โดยกฎหมายต้องมีไม่ต่ำกว่า 3 บุคคล ซึ่งอาจมีจำนวนเท่ากับ หรือ น้อยกว่าผู้ถือหุ้นทั้งหมดของบริษัท
ใบแจ้งผลการจองชื่อนิติบุคคล
เอกสารที่แสดงว่า ได้มีการจองชื่อบริษัทนิติบุคคลสำเร็จ โดยมีสิทธิในการใช้ชื่อดังกล่าว ในการจัดตั้งบริษัทภายในระยะเวลาที่กำหนด
รายละเอียดวัตถุที่ประสงค์ (แบบ ว.)
เอกสารที่แสดงถึง วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งบริษัท โดยปกติแล้ว บริษัทจะสามารถประกอบกิจการ ที่ระบุไว้ในวัตถุประสงค์เท่านั้น
รายการการประกอบธุรกิจ (สสช.1)
แบบแสดงรายการเกี่ยวกับ การประกอบธุรกิจของห้างหุ้นส่วนบริษัท โดยปกติแล้วจะระบุ หมวดหมู่ของธุรกิจที่บริษัทจะดำเนินการเป็นหลัก ไม่เกิน 2 ประเภท
รายชื่อกรรมการเข้าใหม่ (แบบ ก.)
เอกสารแสดงรายชื่อ ผู้ได้รับแต่งตั้งจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นให้เป็นกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัท ซึ่งอาจเป็น ผู้ถือหุ้นเอง หรือ บุคคลภายนอกก็ได้
คำรับรองการจดทะเบียนบริษัท
เอกสารยืนยัน ว่าได้มีการประชุมเพื่อ จดทะเบียนธุรกิจ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยหุ้นส่วนบริษัท และตามระเบียบ สํานักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลาง โดยถูกต้องครบถ้วน
รายงานการประชุมตั้งบริษัท
หลักฐานการประชุมของผู้ถือหุ้น และข้อสรุปในการประชุมจัดตั้งบริษัท และการดำเนินการ ข้อบังคับ และการจัดตั้งกรรมการของบริษัท
ข้อบังคับบริษัท (ถ้ามีกำหนด)
ข้อบังคับบริษัท หรือ ข้อบังคับของบริษัทเป็นกฎเกณฑ์ ข้อกำหนด หรือระเบียบภายในของนิติบุคคล ประเภทบริษัทจำกัดซึ่งเกี่ยวกับ การบริหารจัดการสำคัญๆ ของบริษัท ซึ่งตกลงกันโดยผู้ถือหุ้นของบริษัทนั้น
เอกสารต่างๆ เมื่อจดทะเบียนเสร็จ ควรเก็บไว้อย่างดี
เพื่อใช้ในการประกอบธุรกิจ หากสูญหายจะยุ่งยากในการขอใหม่
เรื่องที่คุณต้องรู้ก่อน จดทะเบียนบริษัท หากคุณกำลังจะเป็นเจ้าของบริษัท
การจองชื่อบริษัท
การจองชื่อบริษัท ไม่ใช่การจดทะเบียน แต่เป็นกระบวนการหนึ่ง ก่อนการจดทะเบียน เพราะต้องนำชื่อที่จองไว้ไป จดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดต่อไป แต่ชื่อที่จะจองและนำไปจดทะเบียนนั้นต้องอยู่ภายในหลักเกณฑ์ และเงื่อนไข ด้วย เนื่องจาก กฎหมายกำหนดว่าชื่อนิติบุคคลจะต้องไม่พ้อง หรือมีชื่อเรียกขานตรงกันหรือคล้ายคลึงกับชื่อนิติบุคคลอื่นที่ได้ จดทะเบียนไว้แล้ว จึงมีระเบียบกำหนดว่าก่อนยื่นจดทะเบียนจะต้องขอ จองชื่อบริษัท ก่อน เมื่อได้รับอนุญาตแล้วจึงจะใช้ชื่อนั้นจดทะเบียนได้
สถานที่ตั้งสำนักงานใหญ่ ทะเบียนบ้านที่ตั้งบริษัท
กรณีที่คุณเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์สถานที่เอง ก็สามารถใช้เป็นที่ตั้งสำนักงานของบริษัทได้โดยทันที โดยคุณจะต้องมีทะเบียนบ้าน ซึ่งคุณสามารถระบุ เลขรหัสประจำบ้านได้ ซึ่งข้อควรระวังก็คือ อาคารชุด หรือ คอนโดมิเนียม ถึงแม้อาจจะใช้จัดตั้งบริษัทได้ แต่ไม่สามารถใช้จดภาษีมูลค่าเพิ่มได้ หากไม่ได้อยู่ในพื้นที่พาณิชย์ของตัวอาคาร กรณีที่คุณไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์สถานที่ คุณจะต้องมีเลขรหัสประจำบ้าน ซึ่งสามารถดูได้จากทะเบียนบ้าน ไม่ว่าจะเป็น บ้าน อาคารพาณิชย์ หรือ อาคารสำนักงาน แต่หากคุณจะต้องการจดเป็นผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย คุณก็จะต้องมีสัญญาเช่า หรือ หนังสือยินยอมให้สถานที่ ประกอบกับ ทะเบียนบ้านอีกด้วย
โครงสร้างผู้ถือหุ้น มูลค่าหุ้น ทุนจดทะเบียน
คุณจะต้องกำหนดว่า ต้องการมีทุนจดทะเบียนเท่าไร โดยจะต้องแบ่งเป็นหุ้นๆ มีมูลค่าหุ้นเท่าๆ กัน (มูลค่าหุ้นจะต้องไม่ต่ำกว่า 5 บาท) ซึ่งทุนจดทะเบียนนั้น จะแสดงถึงเงินทุนของกิจการที่ผู้ถือหุ้นได้ทำการตกลงกันไว้ว่าจะลงทุนทั้งหมด อย่างไรก็ตาม ผู้ถือหุ้นสามารถเลือกได้ว่า จะชำระค่าหุ้นตั้งแต่แรกครบทั้ง 100% เลยก็ได้ หรือ จะชำระเพียง 25% ก่อนเท่านั้นก็ได้เช่นกัน เมื่อกำหนดทุนจดทะเบียนได้แล้ว คุณจะต้องกำหนดว่าในจำนวนหุ้นทั้งหมด จะมีผู้ถือหุ้นทั้งหมดกี่คน ใครบ้าง ถือหุ้นคนละจำนวนกี่หุ้น หรือ ถือหุ้นของบริษัทในสัดส่วนคนละร้อยละเท่าไร ของจำนวนหุ้นทั้งหมด
อำนาจกรรมการ
บริษัทจำกัด เป็น รูปแบบธุรกิจในลักษณะนิติบุคคล ดังนั้นจึงต้องมีการแต่งตัว ตัวแทนผู้มีอำนาจ ในการจะทำธุรกรรม นิติกรรม แทนตัวของบริษัท ซึ่งผู้มีอำนาจของบริษัทก็คือ กรรมการ นั่นเอง โดยผู้ถือหุ้นจะทำการแต่งตัวกรรมการของบริษัท ซึ่งอาจจะเป็นบุคคลเดียว หรือ กลุ่มบุคคลก็ได้ โดยกรรมการของบริษัทนั้น ไม่จำเป็นจะต้องเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทก็ได้เช่นกัน
ตราประทับบริษัท
กฎหมายไม่ได้กำหนดบังคับให้ บริษัทจะต้องมีตราประทับ หรือ ตราสำคัญของบริษัท ดังนั้นการจะทำธุรกรรมต่างๆ อาจใช้เพียงแค่การลงลายมือชื่อของ กรรมการบริษัท ตามที่กำหนดไว้เพียงอย่างเดียวก็ได้ แต่ถ้ามีการกำหนดให้บริษัท มีการใช้ตราประทับบริษัท ทุกครั้งที่ทำธุรกรรม นิติกรรม เช่น การทำสัญญา หรือ ลงลายมือชื่อในเอกสารสำคัญต่างๆ กรรมการจะต้องลงลายมือชื่อ พร้อม ประทับตราสำคัญของบริษัททุกครั้ง จึงจะมีผลบังคับใช้ทางกฎหมายได้โดยสมบูรณ์ ซึ่งตราประทับบริษัทนั้น หากมีชื่อบริษัทอยู่เป็นองค์ประกอบ ก็ต้องเป็นชื่อเต็มโดยสมบูรณ์ และเป็นชื่อที่ได้รับการอนุมัติให้ใช้เรียบร้อยแล้วเท่านั้น
ลงทะเบียนระบบ e-Registration ให้ผู้ถือหุ้น และกรรมการ
การยื่นคำขอจดทะเบียน สามารถยื่นแบบกระดาษที่พื้นที่สำนักงานของ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ซึ่งจะต้องจองคิวล่วงหน้าก่อนไปใช้บริการ และหากมีข้อผิดพลาด หรือ เอกสารไม่ครบถ้วนถูกต้องก็อาจจะต้องกลับไปยื่นใหม่อีกครั้ง ทีมงาน THAI TAX LAW ได้ใช้วิธีการจดทะเบียนผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งทำให้สามารถยื่นเอกสาร และข้อมูลต่างๆ ในรูปแบบไฟล์อิเล็กทรอกนิกส์ได้ นอกจากนี้ ผู้ถือหุ้น และกรรมการทุกคนจะได้ USER PASSWORD สำหรับการเข้าดูข้อมูล หรือ ยื่นเรื่องเอกสารต่างๆ ในอนาคตของบริษัทในรูปแบบออนไลน์ได้ด้วยเลยทันที นอกจากนี้ยังสามารถขอคัดเอกสารที่เกี่ยวข้องของบริษัทในรูปแบบไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ได้ด้วย ซึ่งเพิ่มความสะดวกรวดเร็วให้กับผู้ประกอบการ
ยื่นแบบ ภ.พ.01 และ ภ.พ. 01.1
เมื่อผู้ประกอบการที่ขายสินค้า หรือ ให้บริการมีรายได้เกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี ต้องไปดำเนินการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มกับกรมสรรพากรภายใน 30 วันนับแต่วันที่มูลค่าของฐานภาษีเกินกว่า 1.8 ล้านบาท อย่างไรก็ตามธุรกิจที่จัดตั้งขึ้นใหม่ หรือ ยังมีรายได้ไม่ถึง 1.8 ล้านบาทต่อปี ไม่จำเป็นต้องขึ้นทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแต่อย่างได้ แต่ถ้าต้องการ ก็สามารถขอยื่นเข้าระบบภาษีมูลค่าเพิ่มได้เช่นกัน โดยการยื่นแบบ ภ.พ.01 และ ภ.พ. 01.1 ซึ่งสามารถยื่นแบบคำขอผ่านทางอินเทอร์เน็ตที่ www.rd.go.th หรือ ยื่นแบบคำขอด้วยกระดาษ ณ หน่วยจดทะเบียนที่ตั้งสถานประกอบการ
แบบขึ้นทะเบียนนายจ้าง (สปส.1-01)
กรณีที่คุณมีลูกจ้าง หรือ พนักงานประจำคนแรกของกิจการแล้ว คุณจะต้องขึ้นทะเบียนนายจ้าง และขึ้นทะเบียนลูกจ้างพร้อมการขึ้นทะเบียนนายจ้าง ภายใน 30 วัน นับจากวันที่มีลูกจ้างเริ่มทำงาน โดยลูกจ้างจะต้องมีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป แต่ไม่เกิน 60 ปี โดยในการจ่ายเงินเดือน หรือ ค่าจ้างในแต่ละเดือน คุณจะต้องหัก เงินประกันสังคม พร้อม สมทบยอดเพื่อส่งเข้ากองทุนประกันสังคมอีกด้วย เพื่อเป็นสวัสดิการขั้นพื้นฐานของลูกจ้างตามที่กฎหมายกำหนดไว้
คำถามที่พบบ่อย
ปัจจุบัน [ปี พ.ศ.2565] ในการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทต้องมีผู้เริ่มก่อการอย่างน้อย 2 คนโดยต้องถือหุ้นอย่างน้อยคนละ 1 หุ้น เป็นเงื่อนไขขั้นต่ำในการจดจัดตั้งบริษัทจำกัด
ผู้ก่อการจัดตั้งบริษัทจะต้องมีอายุครบ 12 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป และกรรมการบริษัทควรจะบรรลุนิติภาวะแล้วโดยมีอายุ 20 ปีขึ้นไป อย่างไรก็ตาม หลังจากบริษัทถูกจัดตั้งเรียบร้อยแล้ว ไม่ได้มีข้อกำหนดเรื่องของอายุผู้ถือหุ้นของบริษัทแต่อย่างใด
ไม่ส่งผลต่อค่าธรรมเนียมราชการในการจดทะเบียนบริษัทใดใด แต่ว่าหากทุนจดทะเบียนบริษัทเกิน 5,000,000 บาท (ห้าล้านบาทถ้วน) กรรมการจะต้องนำเงินเข้าบัญชีธนาคารในชื่อส่วนตัว และขอให้ธนาคารออก หนังสือรับรองเงินฝากธนาคาร โดยแจ้งว่าเพื่อเป็นทุนในการเปิดบริษัทใด และนำหนังสือรับรองเงินฝากธนาคารฉบับนั้นเป็นหลักฐานในการจดทะเบียนบริษัทด้วย
กรรมการบริษัทต้องมีอย่างน้อย 1 คน ซึ่งอยู่ในฐานะผู้บริหาร และตัวแทนของบริษัทในการทำนิติกรรมใดใด ในขณะที่ผู้ถือหุ้นมีฐานะเป็นเพียงเจ้าของเท่านั้นสามารถแต่งตั้ง/เปลี่ยนแปลงกรรมการได้ตามเสียงส่วนใหญ่ของผู้ถือหุ้น ทั้งนี้โดยปกติแล้วการเริ่มต้นบริษัทใหม่ผู้ถือหุ้นมักจะแต่งตั้งตัวเองเป็นกรรมการเองเพื่อง่ายต่อการทำนิติกรรมเท่านั้น ไม่มีข้อบังคับใดใดให้ผู้ถือหุ้นจะต้องเป็นกรรมการของบริษัท
การจดทะเบียนบริษัทแบบมีต่างชาติ ถือหุ้น มี 2 กรณีด้วยกัน
จดทะเบียนบริษัท โดยมีคนสัญชาติอื่นที่ไม่ใช่สัญชาติไทย ถือหุ้นไม่เกิน 49% (เป็นบริษัทสัญชาติไทย ประกอบกิจการได้ทุกอย่างตามกฏหมายกำหนด)
จดทะเบียนบริษัท โดยมีคนสัญชาติอื่นที่ไม่ใช่สัญชาติไทย ถือหุ้น 100% หรือเกิน 50% (ถือว่าเป็นบริษัทต่างด้าว ต้องขอใบประกอบธุรกิจต่างด้าวเพิ่มเติม)
กรณีคนต่างด้าวลงทุนในบริษัทจำกัด ตั้งแต่ร้อยละ 40 แต่ไม่เกินร้อยละ 50 ของทุนจดทะเบียน หรือ
กรณีมีคนต่างด้าวลงทุนในบริษัทจำกัดต่ำกว่าร้อยละ 40 ของทุนจดทะเบียน แต่คนต่างด้าวเป็นผู้มีอำนาจในการทำการแทนบริษัทจำกัด (กรรมการบริษัท)
ผู้ถือหุ้นที่มีสัญชาติไทยทุกคนส่งหลักฐานแสดงที่มาของเงินลงทุนสอดคล้องกับเงินที่ชำระแล้วของผู้ถือหุ้นแต่ละรายอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
1. สำเนาสมุดเงินฝากธนาคารหรือสำเนาใบแจ้งยอดบัญชีธนาคารย้อนหลัง 6 เดือน หรือ
2. เอกสารที่ธนาคารออกให้เพื่อรับรองฐานะการเงินของผู้ถือหุ้น หรือ
3. สำเนาหลักฐานแสดงแหล่งที่มาของเงินที่นำมาชำระค่าหุ้น
ผู้ถือหุ้นสามารถเป็นบริษัท หรือ นิติบุคคลประเภทอื่นก็ได้ แต่ทั้งนี้ต้องมีผู้ก่อการที่เป็นบุคคลอย่างน้อย 3 คน
ไม่จำเป็น แต่ในกรณีถ้าตราประทับมีชื่อบริษัทปรากฎอยู่ด้วยแล้วนั้น จะต้องเป็นชื่อเต็มของบริษัทที่จดทะเบียนกับทางกรมพัฒนาธุรกิจการค้าไว้ โดยต้องมีคำขึ้นต้น และคำต่อท้ายโดยในกรณีชื่อภาษาไทย ต้องขึ้นต้นด้วยคำว่า “บริษัท” และต่อท้ายด้วย คำว่า “จำกัด” ในกรณีชื่อเป็นภาษาอังกฤษ ต้องลงท้ายด้วยคำว่า “Company Limited หรือ Co., Ltd.”
ถ้าตามกฎหมายบังคับนั้น มีการกำหนดมูลค่าหุ้นให้ไม่น้อยกว่ากว่าหุ้นละ 5 บาท และต้องมีผู้ก่อการ/ผู้ถือหุ้นอย่างน้อย 3 คน ฉะนั้นทุนจดทะเบียนขั้นต่ำสุดของบริษัท คือ 15 บาท อย่างไรก็ตามทุนจดทะเบียน คือ ข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหุ้น และบริษัทซึ่งสามารถเรียกชำระค่าหุ้นได้ ดังนั้นจึงควรกำหนดทุนจดทะเบียนขั้นต่ำโดยคำนึงถึง เงินทุนหมุนเวียนกิจการที่เพียงพอตอนเริ่มกิจการ ความหน้าเชื่อถือของบริษัท และความเสี่ยงในการลงทุนอีกด้วย
ต้องชำระทุนจดทะเบียนขั้นต่ำไม่น้อยกว่า 25% ของทุนจดทะเบียนทั้งหมด เช่น ทุนจดทะเบียน 1,000,000 บาท จะต้องชำระขั้นต่ำ 250,000 บาท
ผู้ถือหุ้นทุกคนจะต้องชำระทุนขั้นต่ำไม่น้อยกว่า 25% ของทุนจดทะเบียนทั้งหมด
ไม่จำเป็นต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) โดยทันทีเมื่อจดบริษัท อย่างไรก็ตาม กฎหมายได้กำหนดไว้ว่าเมื่อกิจการใดมีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทในปีใดใด ผู้ประกอบการจะต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ทันที ซึ่งหากละเลยผู้ประกอบการจะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในส่วนที่เกิน 1.8 ล้านบาท พร้อมทั้งเบี้ยปรับเงินเพิ่มให้แก่สรรพากร จนกว่าจะมีการดำเนินการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และเมื่อได้ทำการจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว จะต้องทำรายงานภาษีขาย-ภาษีซื้อ (VAT) ส่งให้ทางสรรพากรทุกเดือนอีกด้วย
ห้องพักอาศัยในคอนโดสามารถใช้สถานที่ตั้งในการจดทะเบียนบริษัทได้ เนื่องจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้าต้องการหมายเลขทะเบียนบ้านในการจดทะเบียนบริษัท แต่ว่าหากต้องการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) แล้วจะไม่สามารถใช้ได้ ยกเว้นเป็นพื้นที่พาณิชย์ของอาคารคอนโดมิเนียมนั้นๆ [ปกติมักจะอยู่ที่ชั้น 1 บริเวณร้านค้าทั่วไป] ดังนั้นถ้าจดทะเบียนบริษัทไปแล้ว และผู้ประกอบการต้องการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มภายหลัง จำเป็นต้องหาที่ตั้งบริษัทเป็นสถานที่ใหม่ และทำการไปดำเนินการจดเปลี่ยนแปลงสถานที่ตั้งให้เรียบร้อยก่อน จึงจะสามารถจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) กับทางสรรพากรได้
5 ความผิดเรื่องภาษี ยื่นไม่ดี อาจมีความคิด การยื่นภาษีที่ไม่ถูกต้อง ไม่ตรงตามความเป็นจริง นอกจากจะส่…
ปฏิทินภาษีอากรกรกฎาคม 2567 ที่ผู้ประกอบการไม่ควรพลาด มีภาษีอะไร ต้องยื่นแบบหรือชำระวันไหนบ้าง มาเช็ก…
การจดทะเบียนบริษัทนั้น มีประโยชน์มากมาย เหมาะสำหรับธุรกิจที่ต้องการเติบโต ขยายตลาด และสร้างความน่าเช…
โทรศัพท์ : 081-577-9588 หรือ 091-775-4272 E-mail : topfive2006@yahoo.com
สำนักงานบัญชีชลบุรี บริการรับทำบัญชี วางระบบบัญชี ตรวจสอบบัญชี จดทะเบียนนิติบุคคล จดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงผู้ถือ จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้น จดเพิ่มทุน จดลดทุน บริการด้านบัญชีและภาษีอากร บริการรับปิดงบการเงิน ทำบัญชี ปรึกษาการเงินบัญชี ปิดงบการเงิน จดทะเบียนบริษัท บริการปรึกษาด้านบัญชีภาษีอากร จดบริษัทชลบุรี จดจัดตั้งบริษัทชลบุรี จดทะเบียนบริษัทชลบุรี