081-577-9588

ยื่นภาษี 2566 ออนไลน์ ทำเองได้ ทีละขั้นตอนแบบละเอียด RD Smart Tax

เงินเดือนเท่าไหร่ต้องเสียภาษี

ยื่นภาษี 2566 แบบออนไลน์ เป็นทางเลือกที่สะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยสำหรับประชาชนทุกคน โดยกรมสรรพากรได้พัฒนาระบบยื่นภาษีออนไลน์ให้ใช้งานง่าย และรองรับกับอุปกรณ์ต่าง ๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต หรือสมาร์ทโฟน

สำนักงานบัญชีชลบุรี สอนยื่นภาษีออนไลน์ปี 2566 ทำตามง่าย ๆ ไปทีละขั้นตอน อ่านแล้วทำไปพร้อมกันได้เลย พร้อมเคลียร์ทุกข้อสงสัย ใครต้องยื่นภาษี ยื่นภาษีได้ถึงวันไหน ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง ช่องทางการจ่ายภาษี และยื่นภาษียังไงให้ได้เงินคืน มาเตรียมความพร้อมก่อนยื่นภาษี 2566 นี้ไปพร้อมกันเลยนะคะ หรือท่านใดที่กำลังจะยื่นภาษี สามารถอ่านบทความนี้แล้วทำไปพร้อมกันได้เลยค่ะ

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คืออะไร ?

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือ ภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลธรรมดาที่มีเงินได้ ไม่ว่าประเภทใด ชนิดใด ถ้าไม่มีกฎหมายยกเว้นให้แล้วก็อยู่ในข่ายต้องเสียภาษี โดยปกติจัดเก็บเป็นรายปี รายได้ที่เกิดขึ้นในปีใดๆ ผู้มีรายได้มีหน้าที่ต้องนำไปแสดงรายการตนเอง ตามแบบแสดงรายการภาษีที่กำหนด ภายในเดือนมกราคม ถึงมีนาคมของปีถัดไป อ่านรายละเอียด

เงินได้ที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

เงินได้ที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ได้แก่

  • เงินได้จากเงินเดือน ค่าจ้าง ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าคอมมิชชั่น
  • เงินได้จากทรัพย์สิน เช่น ดอกเบี้ย เงินปันผล กำไรจากการขายทรัพย์สิน
  • เงินได้จากการประกอบอาชีพอิสระ เช่น รายได้จากธุรกิจส่วนตัว รายได้จากอาชีพรับจ้างอิสระ
  • เงินได้พึงประเมินอื่นๆ เช่น เงินได้จากการพนัน เงินได้จากการบริจาค

เงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

เงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ได้แก่

  • เงินได้ที่ได้รับจากกองทุนบำเหน็จบำนาญ
  • เงินได้ที่ได้รับจากเงินชดเชยตามกฎหมายแรงงาน
  • เงินได้ที่ได้รับจากค่าเช่าที่ดินที่ปลูกต้นไม้หรือสิ่งปลูกสร้างที่ให้เช่า
  • เงินได้ที่ได้รับจากการบริจาค

ใครมีหน้าที่ต้องยื่นภาษีบ้าง?

  • คนไทยทุกคนที่มีรายได้พึงประเมินถึงเกณฑ์ขั้นต่ำ มีหน้าที่ต้องยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แบ่งเกณฑ์ตามสถานะโสด และสมรส โดยมีรายละเอียดดังนี้

    1. คนโสด ที่มีรายได้เป็นเงินเดือนตั้งแต่ 10,000 บาท ต่อเดือน (ภ.ง.ด. 91) หรือ 120,000 บาท ต่อปี รวมถึงคนโสดที่มีรายได้ประเภทอื่นที่ไม่ใช่เงินเดือน (ภ.ง.ด. 90) ตั้งแต่ 5,000 บาท ต่อเดือน หรือ 60,000 บาท ต่อปี มีหน้าที่ต้องยื่นภาษี
    2. คนที่สมรสแล้ว ที่มีรายได้เป็นเงินเดือน (ภ.ง.ด. 91) ตั้งแต่ 18,333 บาท ต่อเดือน หรือ 220,000 บาท ต่อปี รวมถึงคนที่สมรสแล้ว ที่มีรายได้ประเภทอื่นที่ไม่ใช่เงินเดือน (ภ.ง.ด. 90) ตั้งแต่ 10,000 บาท ต่อเดือน หรือ 120,000 บาท ต่อปี มีหน้าที่ต้องยื่นภาษี 

ยื่นภาษี 2566 ได้ถึงวันไหน?

ปกติการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจะยื่นปีละ 1 ครั้ง ภายในวันที่ 1 มกราคม ถึง 31 มีนาคม ของปีถัดไป เช่น รายได้เกิดขึ้นในปี 2566 (ปีภาษี 2566) ต้องยื่นภาษีภายในวันที่ 1 ม.ค. – 31 มี.ค. 2567

หากเป็นเงินได้บางลักษณะ เช่น การให้เช่าทรัพย์สิน เงินได้จากวิชาชีพอิสระ เงินได้จากการรับเหมา เงินได้จากธุรกิจ การพาณิชย์ เป็นต้น จะต้องยื่นภาษีตอนกลางปี ภายในเดือนกันยายนของทุกปี

เงินเดือน....ต้องจ่ายภาษีเท่าไหร่

หากเงินเดือนเกิน 26,583 บาทเป็นต้นไป นอกจากจะต้องยื่นภาษีแล้วต้องเสียภาษีด้วย ซึ่งอัตราภาษีจะแบ่งตามช่วงรายได้ดังนี้

รายได้สุทธิ (บาท)
อัตราภาษี
ไม่เกิน 150,000 บาท
ไม่ต้องเสียภาษี
ตั้งแต่ 150,001 บาท - 300,000 บาท
5%
ตั้งแต่ 300,001 บาท - 500,000 บาท
10%
ตั้งแต่ 500,001 บาท - 750,000 บาท
15%
ตั้งแต่ 750,001 บาท - 1,000,000 บาท
20%
ตั้งแต่ 1,000,001 บาท - 2,000,000 บาท
25%
ตั้งแต่ 2,000,001 บาท - 5,000,000 บาท
30%
ตั้งแต่ 5,000,001 บาทขึ้นไป
35%

ขั้นตอนการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แบบละเอียด

การยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสามารถยื่นได้ 2 วิธี คือ

  • ยื่นด้วยตนเอง ณ สำนักงานสรรพากร
  • ยื่นทางอินเทอร์เน็ต (e-Filing) ผ่านเว็บไซต์ https://efiling.rd.go.th/rd-cms/

ขั้นตอนที่ 1 เข้าเว็บไซต์ของกรมสรรพากร

เข้าเว็บไซต์ของกรมสรรพากร https://efiling.rd.go.th/ และเลือก “ยื่นแบบออนไลน์” ปุ่มสีเขียวทึบด้านซ้ายมือ

ยื่นภาษี2566 - เข้าเว็บไซต์ของกรมสรรพากร

หากท่านใดยังไม่มีบัญชี หรือยื่นภาษีเป็นครั้งแรกให้กด “สมัครสมาชิก” ก่อน โดยระบบจะให้กรอกข้อมูลส่วนตัวต่าง ๆ เช่น เลขบัตรประจำตัวประชาชน (เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร) วันเดือนปีเกิด เลขหลังบัตรประชาชน ที่อยู่ อีเมล พร้อมสร้างรหัสผ่านเพื่อใช้ในการเข้าสู่ระบบ E-filing สำหรับยื่นภาษีออนไลน์

ยื่นภาษี - สมัครสมาชิก

ขั้นตอนที่ 2 เข้าสู่ระบบ E-filing ของกรมสรรพากร

เข้าสู่ระบบ E-filing โดยการกรอกเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร หรือ ชื่อผู้ใช้งาน พร้อมกรอกรหัสผ่าน และกด “เข้าสู่ระบบ” 

ขั้นตอนที่ 3 ยืนยันตัวตนด้วยรหัส OTP

ยืนยันตัวตนของท่านด้วยรหัส OTP 6 หลัก โดยรหัสผ่านดังกล่าวจะถูกส่งไปที่ เบอร์โทรศัพท์มือถือของท่าน

ขั้นตอนที่ 4 เลือกยื่นแบบภาษีเงินได้ ภ.ง.ด. 90/91

สำหรับคนที่มีเงินได้จากเงินเดือน ค่าจ้าง โบนัส, ดอกเบี้ยเงินฝาก, ปันผล, ค่าเช่า, อาชีพอิสระ, รับเหมา, การเกษตร เป็นต้น และกดปุม “ยื่นแบบ” ที่รายการ ภ.ง.ด.90/91 

เลือกยื่นแบบภาษีเงินได้ ภ.ง.ด. 90/91

ขั้นตอนที่ 5 กรอกข้อมูลผู้เสียภาษี

สำหรับนักยื่นภาษีมือใหม่ ให้กรอกข้อมูลผู้มีเงินได้ ดังนี้ เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร ชื่อ-นามสกุล วันเดือนปีเกิด และสถานที่ติดต่อ จากนั้นเลือกสถานะ ปัจจุบันของท่าน หากปีที่ผ่านมาเคยกรอกข้อมูลแล้วให้ตรวจสอบข้อมูลดังกล่าวให้ถูกต้องและอัปเดตข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน
เมื่อทำรายการเสร็จสิ้น กดที่ปุ่ม “ถัดไป”

เงินเดือนหรือเงินได้ตามสัญญาจ้างแรงงาน (มาตรา 40(1))

ขั้นตอนที่ 6 กรอกเงินได้

กรอกข้อมูลรายได้จากเงินเดือน โดยนำข้อมูลมาจากหนังสือรับรองภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (50 ทวิ) ที่ได้รับจากบริษัท พร้อมกรอกเลขผู้จ่ายเงินได้ (เลขประจำตัวผู้เสียภาษีของบริษัทที่เราทำงานอยู่)  โดยทำการคลิกที่ “ระบุข้อมูล”

เงินเดือนหรือเงินได้ตามสัญญาจ้างแรงงาน (มาตรา 40(1))

และหากใครมีรายได้อื่น ๆ ที่ไม่ใช่เงินเดือน เช่น รายได้จากฟรีแลนซ์ รับจ้างทั่วไป และวิชาชีพอิสระ, รายได้จากทรัพย์สิน และการทำธุรกิจ, รายได้จากการลงทุน และรายได้จากมรดกหรือได้รับมา ให้กรอกข้อมูลลงไปด้วย หลังจากกรอกข้อมูลเงินได้เรียบร้อยแล้วให้กดที่ปุ่ม “ถัดไป”

ขั้นตอนที่ 7 กรอกค่าลดหย่อน

กรอกข้อมูลค่าลดหย่อนต่าง ๆ ที่มี เช่น ค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดา-มารดา ค่าลดหย่อนบุตร เงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เงินสมทบกองทุนประกันสังคม เบี้ยประกันชีวิต เบี้ยประกันสุขภาพ จำนวนเงินที่ซื้อกองทุน SSF RMF กองทุน Thai ESG และเงินบริจาค เป็นต้น

หลังจากกรอกข้อมูลค่าลดหย่อนเรียบร้อยแล้วให้กดปุม “ถัดไป”

กรอกค่าลดหย่อน

ระบบแสดงรายการค่าลดหย่อนภาษีของปี 2566 โดยแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม คือ 

กลุ่มที่ 1 ค่าลดหย่อนส่วนตัวและครอบครัว 

  • ลดหย่อนผู้มีเงินได้ ทุกคนจะได้รับการลดหย่อนส่วนตัวเป็นจำนวน 60,000 บาท
  • ลดหย่อนบุตร
  • อุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา ภายใต้เงื่อนไขคือ อายุมากกว่า 60 ปี และมีรายได้ต่อปีไม่เกิน 30,000 บาท
  • เบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดา
  • อุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพ

กลุ่มที่ 2 ค่าลดหย่อนกลุ่มออมเงินและลงทุน

  • เงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
  • เงินสะสมกองทุนบำเหน็จบำนาญ (กบข.)
  • เงินสะสมกองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน
  • เงินค่าชดเชยที่ได้รับตามกฎหมายแรงงาน (กรณีนำมารวมคำนวณภาษี)
  • เงินสะสมกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.)
  • เงินสมทบกองทุนประกันสังคม
  • เบี้ยประกันชีวิต
  • เบี้ยประกันสุขภาพ
  • เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ
  • ค่าซื้อหน่วยลงทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)
  • ค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการออม (SSF)
  • เงินลงทุนในหุ้น หรือการเป็นหุ้นส่วนเพื่อจัดตั้ง หรือเพิ่มทุนบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้รับจดทะเบียนวิสาหกิจเพื่อสังคม และได้จดแจ้งการเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคม

กลุ่มที่ 3 ค่าลดหย่อนกระตุ้นเศรษฐกิจตามนโยบายรัฐบาล

  • ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัย
  • เงินบริจาคพรรคการเมือง
  • ค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตร

กลุ่มที่ 4 ค่าลดหย่อนบริจาค

  • เงินบริจาคสนับสนุนการศึกษา/ สถานพยาบาล/ สภากาชาดไทย และอื่นๆ
  • เงินบริจาค

ขั้นตอนที่ 8 ตรวจสอบข้อมูล

ระบบจะสรุปเงินได้ทั้งหมด หัก ค่าใช้จ่าย และ หักค่าลดหย่อนรายการทั้งหมด เป็นเงินได้สุทธิ ที่จะนำไปคำนวณภาษีตามอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 2566 โดยที่เงินได้สุทธิ 1 – 150,000 บาท ได้รับการยกเว้นภาษี!! เท่ากับว่า “ไม่เสียภาษี”

ตรวจสอบข้อมูลเงินได้และค่าลดหย่อนทั้งหมดที่ได้กรอกไป โดยระบบจะทำการคำนวณภาษีที่ต้องชำระให้อัตโนมัติ ซึ่งหากมีการชำระภาษีไปแล้วระบบจะแจ้งยอดที่ชำระเกิน โดยสามารถขอคืนภาษีที่ชำระเกินได้ รวมถึงนำเงินภาษีที่ชำระเกินไปอุดหนุนพรรคการเมืองได้

หลังจากตรวจสอบข้อมูลทั้งหมดเรียบร้อยแล้วให้กดปุ่ม “ถัดไป”

ขั้นตอนที่ 8 ตรวจสอบข้อมูล

เมื่อตรวจสอบข้อมูลครบถ้วนแล้ว กด “ยืนยันการยื่นแบบ” เป็นอันเสร็จสิ้นขั้นตอนการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาผ่านช่องทางออนไลน์

เอกสารที่ต้องเตรียมตอนยื่นภาษีออนไลน์

การยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ ภ.ง.ด. 91 สำหรับผู้ที่มีรายได้จากเงินเดือนเพียงอย่างเดียว และ ภ.ง.ด. 90 สำหรับผู้ที่มีรายได้อื่น ๆ นอกเหนือจากเงินเดือน โดยมีเอกสารที่ต้องเตรียมสำหรับยื่นภาษีดังนี้

  • หนังสือรับรองภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (ใบ 50 ทวิ) โดยเป็นเอกสารที่แสดงถึงรายได้รวมทั้งปี หลังจากหักชำระกองทุน หรือเงินทุนสำรองต่าง ๆ 
  • รายการลดหย่อนภาษีที่รวบรวมไว้ทั้งปี เช่น ค่าเลี้ยงดูบิดา-มารดา ค่าเลี้ยงดูบุตร เป็นต้น
  • เอกสารประกอบการลดหย่อนภาษีเพื่อประกอบการกรอกแบบฟอร์มยื่นภาษี เช่น จำนวนเงินที่ซื้อกองทุน เบี้ยประกันชีวิต ประกันสุขภาพ หรือค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าหรือบริการ เป็นต้น

ประโยชน์ของการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

การยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามีประโยชน์มากมาย ดังนี้

  • เป็นการแสดงตนว่าเป็นผู้เสียภาษีที่ถูกต้องตามกฎหมาย
  • สามารถนำค่าใช้จ่ายที่จ่ายไปเพื่อประโยชน์ในการหารายได้มาหักลดหย่อนภาษีได้
  • สามารถนำรายได้ที่ได้รับมาคำนวณเพื่อรับสิทธิประโยชน์ต่างๆ เช่น สิทธิในการขอสินเชื่อ สิทธิในการลดหย่อนค่าธรรมเนียมต่างๆ

ข้อควรระวังในการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ผู้เสียภาษีควรระมัดระวังในการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ดังนี้

  • ตรวจสอบข้อมูลให้ถูกต้องก่อนยื่นภาษี หากพบข้อผิดพลาด ให้แก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องก่อน
  • ชำระภาษีให้ครบถ้วน ภายในระยะเวลาที่กำหนด
  • เก็บหลักฐานการยื่นภาษีไว้เป็นหลักฐาน 

การยื่นภาษีออนไลน์ เป็นทางเลือกที่สะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยสำหรับประชาชนทุกคน โดยกรมสรรพากรได้พัฒนาระบบยื่นภาษีออนไลน์ให้ใช้งานง่าย และรองรับกับอุปกรณ์ต่าง ๆ มากมาย สำหรับผู้เสียภาษีที่ยังไม่เข้าใจขั้นตอนการยื่นภาษีออนไลน์สามารถศึกษาได้จากคู่มือการยื่นภาษีออนไลน์หรือบทความต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

ติดต่อเรา

สำนักงานบัญชีชลบุรี ท๊อปไฟว์ แอคเคาน์ติ้ง แอนด์ คอนซัลแตนท์ จำกัด

TopFive Accounting and Consultant Co., Ltd

ติดต่อสอบถาม หรือ สอบถามข้อมูลได้ที่นี่

ที่ตั้ง 7/77  หมู่ 5  ตำบลห้วยกะปิ  อำเภอเมืองชลบุรี  จังหวัดชลบุรี  20130

โทรศัพท์ :  081-577-9588  หรือ  091-775-4272   E-mail :  topfive2006@yahoo.com

สำนักงานบัญชีชลบุรี บริการรับทำบัญชี วางระบบบัญชี ตรวจสอบบัญชี จดทะเบียนนิติบุคคล จดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงผู้ถือ จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้น จดเพิ่มทุน จดลดทุน บริการด้านบัญชีและภาษีอากร บริการรับปิดงบการเงิน ทำบัญชี ปรึกษาการเงินบัญชี ปิดงบการเงิน จดทะเบียนบริษัท บริการปรึกษาด้านบัญชีภาษีอากร จดบริษัทชลบุรี จดจัดตั้งบริษัทชลบุรี จดทะเบียนบริษัทชลบุรี

บริษัท ท๊อปไฟว์ แอคเคาน์ติ้ง แอนด์ คอนซัลแตนท์ จำกัด
TOP FIVE ACCOUNTING AND CONSULTANT Co., Ltd