081-577-9588

ภ.พ.36 คืออะไร ใครต้องยื่นบ้าง

ภ.พ.36-คืออะไร-ใครต้องยื่นบ้าง

ภ.พ.36 คืออะไร

ภ.พ.36 คือ แบบนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม อันเนื่องจากมาจากผู้ขาย หรือผู้ให้บริการไม่ได้เข้ามาทำกิจการในประเทศไทย ทำให้ผู้จ่ายค่าสินค้า หรือบริการนั้น ๆ จะต้องเป็นผู้ที่ยื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งถือว่ามีความจำเป็น เพราะผู้จ่ายค่าสินค้าส่วนมาก มักไม่ทราบว่าตนจะต้องยื่น หรืออาจเกิดจากการหลงลืม ดังนั้น หากทราบว่าตนเองจะต้องมีการจ่ายค่าสินค้าให้กับผู้ขาย หรือผู้ให้บริการที่ไม่ได้เข้ามาทำธุรกิจในประเทศ จะต้องเตรียมตัวไว้ล่วงหน้า ว่าจะต้องดำเนินการยื่นนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มให้ตรงตามกำหนด

สำหรับมือใหม่ ที่เพิ่งมาทำความรู้จักเกี่ยวกับเรื่องนี้ เชื่อว่าคุณอาจเกิดความสงสัย และยังไม่เข้าใจเท่าไหร่ในการ นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม สำนักงานบัญชีชลบุรี จึงขอยกตัวอย่าง ให้เห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้น ในกรณีที่คุณเป็นเจ้าของธุรกิจออนไลน์ ที่ต้องทำโฆษณาโปรโมทสินค้าผ่านทางเฟซบุ๊ก แน่นอนว่าเมื่อคุณมีรายได้จากการทำธุรกิจ และการโฆษณา คุณจึงต้องมีหน้าที่ในการยื่นนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มแทนเฟซบุ๊ก เพื่อไม่ให้โดนเรียกเก็บภาษี หรือค่าปรับภายหลังหากว่านำส่งช้า

ภ.พ.36 ใครบ้างที่ต้องยื่น

ผู้มีหน้าที่ยื่นแบบ ภพ.36 ได้แก่
(1) ผู้จ่ายเงินซึ่งจ่ายเงินค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการให้แก่

  • (ก) ผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักรซึ่งได้เข้ามา
    ประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว และไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นการชั่วคราว หรือ
  • (ข) ผู้ประกอบการที่ได้ให้บริการในต่างประเทศ และได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร หรือ
  • (ค) ผู้ประกอบการอื่นตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา (ปัจจุบันยังไม่กำหนด)

(2) ผู้รับโอนสินค้าหรือผู้รับโอนสิทธิในบริการที่ได้เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

  • ในอัตราร้อยละ 0 ได้แก่ การรับโอนสินค้าหรือรับโอนสิทธิในบริการที่ได้มีการขาย หรือการให้บริการกับองค์การสหประชาชาติ ทบวงการชำนัญพิเศษของสหประชาชาติ สถานเอกอัครราชทูต สถานทูต สถานกงสุลใหญ่สถานกงสุล ทั้งนี้ เฉพาะการขายสินค้า หรือการให้บริการดังกล่าวที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด
(3) ผู้ทอดตลาดซึ่งขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ประกอบการ จดทะเบียนหรือส่วนราชการ ซึ่งขายทรัพย์สินของผู้ประกอบการจดทะเบียน ที่ถูกยึดมาตามกฎหมายโดยวิธีอื่นนอกจากการขายทอดตลาด

ภ.พ.36 คํานวณอย่างไร

  1. จำนวนเงินที่จ่าย ให้กรอกจำนวนเงินที่จ่ายจริง หรือราคาขายทอดตลาดแล้วแต่กรณี
  2. จำนวนเงินภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องนำส่ง ให้กรอกจำนวนเงินภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องนำส่งกรณีนำส่งภาษีเกินกำหนดเวลาหรือไม่ถูกต้อง
  3. เงินเพิ่ม ในกรณีผู้นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มมิได้นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มภายในเวลาที่กำหนด จะต้องคำนวณและชำระเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5
    ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องนำส่ง ทั้งนี้ ให้คำนวณเงินเพิ่มเป็นรายเดือน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลายื่นแบบ ภพ.36 นำส่ง
    ภาษีของเดือนภาษีนั้น จนถึงวันยื่นแบบ ภพ.36 และนำส่งภาษี
  4. เบี้ยปรับ (ถ้ามี) กรณีผู้รับโอนสินค้าหรือผู้รับโอนสิทธิในบริการนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ไม่ถูกต้องหรือไม่ได้ยื่นแบบ ภพ.36 ภายในเวลาที่กำหนด จะต้องคำนวณและชำระเบี้ยปรับอีก 1 เท่า หรือ 2 เท่า ของเงินภาษีแล้วแต่กรณี ซึ่งเบี้ยปรับดังกล่าวอาจขอลดได้ตาม
    ระเบียบที่อธิบดีกำหนด ให้กรอกจำนวนที่ขอลดได้แล้วตามระเบียบฯ แบบ ภพ.36 ที่ผู้ประกอบการยื่นเกินกำหนดเวลาหรือยื่นเพิ่มเติม
    ถือเป็นคำร้องขอลดเบี้ยปรับด้วย ผู้นำส่งภาษีจะได้รับอนุมัติให้ลดเบี้ยปรับตามระเบียบฯ ในทันทีที่ยื่นแบบ ภพ.36
  5. รวมภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องนำส่ง เงินเพิ่ม และเบี้ยปรับ (2.+3.+4.) ให้กรอกจำนวนเงินภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องนำส่งตาม 2.
    เงินเพิ่มตาม 3. และเบี้ยปรับ (ถ้ามี) ตาม 4. ให้ผู้นำส่งภาษีลงลายมือชื่อ และในกรณีเป็นนิติบุคคลให้ประทับตรา
    นิติบุคคล (ถ้ามี) ด้วย พร้อมทั้งกรอกวันเดือนปีที่ยื่นแบบฯ

ภ.พ.36 ยื่นเมื่อไหร่

ให้ผู้มีหน้าที่นำส่งภาษียื่นแบบ ภพ.36 พร้อมทั้งนำส่งภาษี ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา ในท้องที่ที่ผู้มีหน้าที่นำส่งภาษีมีภูมิลำเนา
หรือสำนักงานตั้งอยู่ภายในกำหนดเวลา ดังนี้

  1. กรณีเป็นผู้จ่ายเงินฯ ตาม (1) หรือเป็นผู้ทอดตลาดฯ ตาม (3) ให้นำส่งเงินภาษีภายใน 7 วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินให้
    ผู้ประกอบการตาม (1) หรือขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ประกอบการจดทะเบียนตาม (3) แล้วแต่กรณี
  2. กรณีเป็นผู้รับโอนสินค้า หรือเป็นผู้รับโอนสิทธิในบริการตาม (2) ให้นำส่งเงินภาษีภายใน 7 วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่ครบกำหนด
    30 วัน ที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น
ในกรณีที่จ่ายเงินได้พึงประเมินให้แก่ผู้รับมากกว่า 1 ราย หรือ จ่ายเงินได้พึงประเมินมากกว่ 1 ประเภท ให้แยกยื่นแบบ ภพ.36 แยกเป็นแต่ละรายผู้รับ และหรือแยกเป็นแต่ละรายประเภทการจ่ายเงินแลวแต่กรณี

ภ.พ.36 ยื่นออนไลน์

การยื่นนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มแทนผู้ให้บริการ จะต้องยื่นนำส่งและชำระภาษีภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป หรือถ้ายื่นแบบทางอินเตอร์เน็ตสามารถยื่นและชำระภาษีได้ในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป

ภ.พ.36 ยื่นล่าช้า

ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ยื่นแบบ ภพ.36 ตามมาตรา 83/6 แห่งประมวลรัษฎากร ต้องรับผิดทุกครั้งที่มีการยื่นแบบ ภพ.36 เป็นราย ๆ ไป 

กรณีไม่ยื่นแบบฯภายในกำหนดเวลา ต้องนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มและมีความรับผิด ดังนี้

1. ค่าปรับอาญา ตามมาตรา 90(5) แห่งประมวลรัษฎากร ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท แต่อัตราที่ควรเปรียบเทียบปรับ ถ้ายื่นแบบฯ ภายใน 7 วัน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลา 300 บาท หากยื่นแบบฯ เกิน 7 วัน 500 บาท ตามข้อผ่อนปรนการปรับ

2. เงินเพิ่ม ในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือน ตามมาตรา 89/1 แห่งประมวลรัษฎากร

ทั้งนี้ กรณีไม่ได้ยื่นแบบฯ หรือยื่นแบบฯ นำส่งเมื่อพ้นกำหนดเวลา หรือยื่นแบบฯ ไว้ไม่ถูกต้อง ไม่ต้องเสียเบี้ยปรับ เสียเฉพาะเงินเพิ่ม ตามข้อ 18 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.81/2542ฯ เว้นแต่กรณีรับโอนสินค้าหรือรับโอนสิทธิในบริการที่ได้เสียภาษี ในอัตราร้อยละ 0

ภ.พ. 30 กับ ภ.พ. 36 ต่างกันอย่างไร

ภ.พ.30 คือ

การยื่นแบบ ภ.พ.30 หมายถึง การยื่นเอกสารรายงานสรุปภาษีซื้อ-ภาษีขายของผู้ประกอบการกับกรมสรรพากรในทุก ๆ เดือน แบบ ภ.พ.30 ดังกล่าวนี้จะเป็นเอกสารที่จะแสดงให้กรมสรรพากรทราบถึงข้อมูลการเสียภาษีซื้อ

อาทิ การซื้อวัตถุดิบทั้งประเภทสินค้า-บริการต่าง ๆ ที่นำมาประกอบกิจการ การเสียภาษีขายจากยอดขายที่ขายออกไป มีการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในแต่ละเดือนจำนวนเท่าใด ไม่ว่าในแต่ละเดือนจะไม่มีรายได้ไม่มีรายรับ ขาดทุน ผู้ประกอบการต้องดำเนินการยื่น แบบ ภ.พ.30 ต่อกรมสรรพากรตามปกติ

สำหรับเจ้าของกิจการ ไม่ว่าจะเป็นกิจการเล็ก หรือกิจการใหญ่ ในส่วนของผู้ประกอบการมือใหม่ ที่เพิ่งเริ่มดำเนินกิจการไม่นาน และยังไม่มีรายได้ถึง 1.8 ล้านบาทต่อปีก็ยังไม่ต้องยื่นแบบ ภ.พ.30  แต่หากผู้ประกอบการที่ดำเนินกิจการ และมีรายได้มากกว่าปีละ 1.8 ล้านบาท พร้อมทั้งได้ดำเนินการขึ้นทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว สิ่งที่ละเลยไม่ได้อย่างเด็ดขาดนั่นคือการ ยื่นแบบ ภ.พ.30 ที่กรมสรรพากรในเขตพื้นที่เดียวกับที่ตั้งสถานประกอบการ

โดยการยื่นนั้นก็ง่ายมาก สามารถยื่นได้ด้วยตัวเองกับทางกรมกรมสรรพากรไม่เกินวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ทั้งรูปแบบการยื่นที่สำนักงานหรือการยื่นผ่านออนไลน์ แต่สำหรับผู้ประกอบการที่ไม่ดำเนินการนำส่งแบบ ภ.พ.30 ภายใน 15 วัน จะส่งผลให้ต้องเสียค่าปรับ หรือ เบี้ยปรับเงินเพิ่มขึ้นตามกฎหมายด้วย 

ภ.พ.36 คือ

สำหรับการยื่นแบบ ภพ.36 คือ การยื่นแบบแสดงภาษีมูลค่าเพิ่มกับสรรพากรทุกเดือน ในกรณีที่บริษัท นิติบุคคลทำการซื้อสินค้า-บริการ กับบริษัทที่ทำการขาย ซึ่งไม่ได้ดำเนินการธุรกิจในประเทศไทย โดยนิติบุคคลสามารถยื่นแบบ ยื่นแบบ ภพ.36 กับสรรพากรผ่านทางช่องทางออนไลน์ได้ โดยดำเนินการยื่นไม่เกิน 7 วันของเดือนถัดไป

และในปัจจุบัน มีคนจำนวนไม่น้อยเลยทีเดียว ที่มีรูปแบบอาชีพที่สร้างรายได้จำนวนมาก แม้ไม่ได้อยู่ในรูปแบบนิติบุคคล เช่น อาชีพขายสินค้าออนไลน์ ก็เป็นอีกอาชีพหนึ่ง ที่มีความจำเป็นต้องใช้แพลตฟอร์มออนไลน์ระดับโลก ในการจำหน่ายสินค้า รวมถึงการใช้บริการทำการตลาดออนไลน์ การซื้อโฆษณาออนไลน์ ซึ่งค่าใช้จ่ายเหล่านี้ ก็เข้าข่ายที่ผู้ประกอบการในไทย ต้องยื่นแบบ ภพ.36 ในทุกเดือนอย่างเคร่งครัด เนื่องจากบริษัทผู้ให้บริการตั้งอยู่นอกประเทศไทยนั่นเอง หากคุณมีธุรกิจรายได้เกิน 1.8 ล้านบาท และทำการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้แล้ว

วิธีการกรอกแบบ ภ.พ.36

  • โปรดกรอกรายการให้อ่านได้ง่าย ชัดเจน โดยการเขียนหรือพิมพ์ก็ได้
  • ให้กรอกเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร เลขที่สาขาของสถานประกอบการ ชื่อผู้นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มพร้อมทั้งที่อยู่ รหัสไปรษณีย์ และหมายเลขโทรศัพท์ให้ครบถ้วนชัดเจน
  • ให้ระบุว่าเป็นกรณีการนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มในลักษณะใด เป็นการยื่นปกติหรือยื่นเพิ่มเติมครั้งที่เท่าไร โดยให้ทำเครื่องหมาย “” ลงใน

ช่อง “☐” หน้าข้อความนั้น พร้อมทั้งกรอกรายละเอียดแล้วแต่ กรณี คือ จ่ายเงินค่าซื้อสินค้าหรือบริการ รับโอนสินค้า ฯ ขายทอดตลาด ดาวน์โหลดแบบยื่น ภพ.36 

ติดต่อเรา

สำนักงานบัญชีชลบุรี ท๊อปไฟว์ แอคเคาน์ติ้ง แอนด์ คอนซัลแตนท์ จำกัด

TopFive Accounting and Consultant Co., Ltd

ติดต่อสอบถาม หรือ สอบถามข้อมูลได้ที่นี่

ที่ตั้ง 7/77  หมู่ 5  ตำบลห้วยกะปิ  อำเภอเมืองชลบุรี  จังหวัดชลบุรี  20130

โทรศัพท์ :  081-577-9588  หรือ  091-775-4272   E-mail :  topfive2006@yahoo.com

สำนักงานบัญชีชลบุรี บริการรับทำบัญชี วางระบบบัญชี ตรวจสอบบัญชี จดทะเบียนนิติบุคคล จดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงผู้ถือ จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้น จดเพิ่มทุน จดลดทุน บริการด้านบัญชีและภาษีอากร บริการรับปิดงบการเงิน ทำบัญชี ปรึกษาการเงินบัญชี ปิดงบการเงิน จดทะเบียนบริษัท บริการปรึกษาด้านบัญชีภาษีอากร จดบริษัทชลบุรี จดจัดตั้งบริษัทชลบุรี จดทะเบียนบริษัทชลบุรี

บริษัท ท๊อปไฟว์ แอคเคาน์ติ้ง แอนด์ คอนซัลแตนท์ จำกัด
TOP FIVE ACCOUNTING AND CONSULTANT Co., Ltd